เลือกภาษา: EN TH

บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของ บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน) ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ นโยบายการใช้คุกกี้

กฎบัตร

กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง


  1. กำหนดและทบทวนกรอบการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรการบริหารความเสี่ยง นโยบายและกระบวนการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  2. สนับสนุน และพัฒนาให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  3. กำกับดูแล ติดตาม สอบทาน วิเคราะห์ และประเมินรายงานการบริหารความเสี่ยงองค์กร และให้ข้อคิดเห็นในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจและระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุม บรรเทาหรือลดผลกระทบ (Mitigation Plan) และการพัฒนาระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง และครอบคลุมการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกระดับ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินกิจการที่โปร่งใสและไม่ขัดแย้งต่อนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  4. ติดตามให้มีการประชุมติดตามการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของแต่ละฝ่าย/แผนก ทุกเดือน และสรุปประเมินความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญเพื่อรายงานต่อกรรมการผู้จัดการรับทราบ
  5. รายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร ให้คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทรับทราบไตรมาสละ 1 ครั้ง และในกรณีที่มีปัจจัย หรือเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อยอย่างมีนัยสำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบและพิจารณาโดยเร็วที่สุด
  6. รับผิดชอบต่อหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย

การประชุม

  1. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ต้องประชุมร่วมกันอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และสามารถจัดประชุมเพิ่มเติมตามที่ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษได้
  2. การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม และให้ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประธานในที่ประชุม
  3. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อาจเชิญผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมหารือและชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้
  4. เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จะต้องเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง
  5. มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มาประชุมและออกเสียงลงคะแนน หนึ่งคนมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
  6. กรณีที่ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงไม่เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมต้องแต่งตั้ง กรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยงโดยตำแหน่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน

การรายงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  1. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รายงานต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบผลสรุปการติดตามและการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และของแต่ละฝ่าย/แผนก รวมถึงรายงานสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯหรือบรรเทาความเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม หรือรายงานเรื่องอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทฯควรทราบ เป็นประจำทุกไตรมาส
  2. ส่งรายงานให้แก่ เลขานุการบริษัท โดยสรุปเกี่ยวการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อรายงานในรายงานประจำปีและแบบแสดงข้อมูลประจำปี